ระบบบริการพื้นฐาน
ในเขตเทศบาลมีระบบบริการพื้นฐาน ดังนี้
๑. การไฟฟ้า
การขยายเขตไฟฟ้า ปัจจุบันมีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน คิดเป็น ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ปัญหาคือไฟฟ้าส่องสว่างทางหรือที่สาธารณะยังไม่สามารถดำเนินการครอบคลุมพื้นที่ได้ทั้งหมด เนื่องจากพื้นที่ที่มีความต้องการให้ติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างนั้นยังไม่เป็นที่สาธารณะ เทศบาลจึงไม่สามารถดำเนินการได้เช่นเดียวกับทางสาธารณะ การแก้ปัญหาคือ ประสานความร่วมมือกันในหลายๆ ฝ่าย เพื่อที่จะทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ และวิธีการที่จะดำเนินการแก้ไขอย่างไร ทั้งนี้ เทศบาลก็ได้ตั้งงบประมาณในส่วนนี้ไว้แล้ว และได้แจ้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบถึงเหตุผลเพื่อที่จะได้ช่วยกันแก้ไขปัญหาให้กับชุมชน ปัจจุบันในเขตเทศบาลมีไฟฟ้าใช้ ดังนี้
(๑) จำนวนครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้า ๑,๘๒๗ หลังคาเรือน
(๒) ไฟฟ้าสาธารณะ จำนวน ๔๐๐ จุด ครอบคลุมถนนทุกสายในเขตเทศบาล
๒. การประปา
การประปา เทศบาลมีกิจการประปาเป็นของเทศบาลเอง สามารถให้บริการได้ครอบคลุมทุกหลังคาเรือน คิดเป็น ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ และมีน้ำใช้ตลอดทั้งปี ปัญหาคือ มีข้อร้องเรียนเรื่องน้ำประปาขุ่นบ่อยครั้ง สาเหตุเนื่องจากเป็นท่อประปาเก่าเกิดการตกตะกอนของน้ำ และไม่มีแหล่งน้ำดิบในการผลิตประปาต้องขอใช้จากพื้นที่อื่นทำให้มีค่าใช้จ่ายมาก ประปาของเทศบาลยังไม่สามารถที่จะผลิตเป็นน้ำประปาสำหรับบริโภคได้ ต้องใช้งบประมาณสูงมากในการดำเนินการ ปัจจุบันเทศบาลยังไม่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำสามารถที่จะจัดหาน้ำดิบสำหรับผลิตประปาให้ชุมชนได้
การแก้ปัญหาคือ การลงพื้นที่ดำเนินการแก้ไขตามจุดที่เกิดปัญหาในทันที การพิจารณาโครงการต่างๆ ที่ไม่สามารถดำเนินการได้นั้น เช่น โครงการก่อสร้างโรงสูบจ่ายสารเคมีและเก็บสารเคมีการประปา ฯลฯ เทศบาลก็ได้นำบรรจุในแผนพัฒนาสามปีเพื่อที่จะพิจารณาดำเนินการในปีต่อไป เมื่อมีงบประมาณและความจำเป็นก็สามารถดำเนินโครงการได้ต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนต่อไป ปัจจุบันประชาชนมีประปาใช้ ดังนี้
(๑) จำนวนครัวเรือนที่ใช้น้ำประปา ๑,๐๗๕ หลังคาเรือน
(๒) หน่วยงานเจ้าของกิจการประปา ของเทศบาลตำบลจอมพระ ๑ แห่ง
(๓) ปริมาณการใช้น้ำประปาเฉลี่ย ๕๐๐ – ๕๕๐ ลบ.ม. ต่อวัน
(๔) แหล่งน้ำดิบที่ใช้ผลิตน้ำประปาได้จาก แม่น้ำชี, สระน้ำหนองใหญ่ (แหล่งน้ำผิวดิน)
๓. โทรศัพท์
- จำนวนชุมสายโทรศัพท์จำนวน จำนวน ๑ ชุมสาย
๔. ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์
มีไปรษณีย์ จำนวน ๑ แห่ง ให้บริการ เวลา ๐๘.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ในวันจันทร์ – เสาร์ (วันเสาร์ครึ่งวัน) หยุดวันอาทิตย์
๕. เส้นทางคมนาคมขนส่ง - มีท่ารถขนส่งนครชัย จำนวน ๑ แห่ง ให้บริการทุกๆ ชั่วโมง และทุกวัน ในเขตเทศบาลมีเส้นทางคมนาคมในพื้นที่เทศบาลที่เป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ร้อยละ ๙๕ เป้าหมายคือต้องการให้ได้มากกว่านี้หรือร้อยละ ๑๐๐ โดยผู้บริหารมีนโยบายที่จะดำเนินการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กทุกสาย ปัญหาคือ เทศบาลไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากพื้นที่ยังไม่เป็นที่สาธารณะ จะดำเนินการได้ก็ต่อเมื่อใช้เป็นที่สาธารณะ ปัจจุบันเทศบาลมีเส้นทางคมนาคม ดังนี้
(๑) การคมนาคม การจราจร เส้นทางคมนาคมที่ใช้ติดต่อในเขตเทศบาลและพื้นที่ใกล้เคียงมีดังนี้
๑) ทางหลวงแผ่นดิน - หมายเลข ๒๑๔ สายสุรินทร์ – ร้อยเอ็ด - หมายเลข ๒๓๓๔ สายจอมพระ - ศีขรภูมิ
๒) การจัดการขนส่งมวลชน ประกอบด้วย - รถโดยสารประจำทาง สายจังหวัดสุรินทร์ – จังหวัดยโสธร - รถโดยสารประจำทาง สายจังหวัดสุรินทร์ – จังหวัดร้อยเอ็ด - รถโดยสารประจำทาง สายจังหวัดสุรินทร์ – อำเภอชุมพลบุรี – สตึก
๖. ถนน
ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน ๕๐ สาย ระยะทาง ๑๔ กิโลเมตร ๙๕๓ เมตร
ถนนลาดยาง จำนวน ๑๐ สาย ระยะทาง ๔ กิโลเมตร ๖๙๑ เมตร
ถนนลูกรัง จำนวน ๔ สาย ระยะทาง ๙๘๘ เมตร ถนนดิน จำนวน ๒ สาย ระยะทาง ๖๕๒ เมตร